thai   English 
ข้อมูลข่าวอาเซียน

ข่าวสารประชาสัมพันธ์ >> ข่าวด้านการเมือง
ชี้การเมืองไทยขัดแย้งรุนแรงสุดในอาเซียน



นักวิชาการชี้การ เมืองไทยมีความขัดแย้งรุนแรงที่สุดในอาเซียน ระบุระหว่างกลุ่มที่มองประชาธิปไตยคือการเลือกตั้งกับกลุ่มมองว่าเป็น เสรีภาพ
 
สมาคม นักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดการบรรยายสรุปสำหรับสื่อมวลชน เรื่องการชุมนุมทางการเมือง เรื่อง "การชุมนุมทางการเมือง : ภาพสะท้อนการเติบโตของประชาธิปไตยในดินแดนอาเซียน" นายสมชาย ภัคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง กล่าวว่า ความขัดแย้งภาย ในที่เกิดขึ้นกับ 10 ประเทศในอาเซียน ส่วนหนึ่งมีลักษณะเหมือนกัน ขณะเดียวกันก็มีความแตกต่าง เป็นผลจากที่โลกเกิดระบบใหม่ เริ่มภายหลังสงครามเย็น ทุกประเทศต้องปรับโครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจด้วยการเปิดประเทศ ทำให้รับอิทธิพลจากประเทศอื่น สำหรับอาเซียนได้มีการรวมตัวกันบนพื้นฐานความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ที่เปลี่ยนแปลงนำไปสู่การขยายตัวของทุนนิยม สำหรับประเทศไทยมีความเป็นทุนนิยมอยู่เป็นพื้นฐานแล้ว ส่วนประเทศลาว เขมร เวียดนาม และพม่า ภายหลังแต่หลังปี 1989 กระแสโลกาภิวัตน์ทำใหเกิดปัญหาจากการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสะสมเชื้อประเด็น ปัญหาเกิดลัทธิทุนนิยม และขยายตัวมากขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน จนเป็นปัญหาในรูปแบบต่างๆ ที่เรียกว่า ทุนนิยมสามานย์
 
นายสมชาย กล่าวว่า ปัญหาอยู่ที่เมื่อเกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ที่มีเรื่องผลประโยชน์ย่อมส่งผลต่อความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศเกิดขึ้น หากพิจารณาเป็นรายประเทศในอาเซีย จะเห็นว่า บรูไน ลาว และเวียดนาม ยังไม่มีความขัดแย้งมากนัก เพราะยังคงระบบการปกครองแบบเดิมอยู่ ชนชั้นใหม่ยังไม่เกิด มีแค่สะสมความไม่พอใจ และปัญหาคอรัปชั่นยังไม่มีมากนัก
 
นายสมชาย ชี้ว่า ไทยกับกัมพูชาเป็นประเทศที่มีปัญหาทางการเมืองที่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากยังมีความคิดว่า "ประชาธิปไตยต้องมาจากการเลือกตั้งด้วยเสียงข้างมาก สิ่งสำคัญอยู่ที่การได้ชนะการเลือกตั้งจากเสียงข้างมากได้ใช้ความชอบธรรมใน ทางที่ถูกต้องหรือไม่ โดยระหว่างดำรงตำแหน่งได้ใช้อำนาจอย่างเป็นธรรม และบริหารงานอย่างโปร่งใสหรือไม่อย่างไร ส่วนฟิลิปปินส์ ภายหลังยุคประธานาธิบดีมากอส ที่ได้มีจัดการปัญหาคอรัปชั่นครั้งใหญ่มาแล้วทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้มีการ ตื่นตัวทางการเมืองสูงขึ้นเป็นลำดับ และมีความเข้าใจในความหมายของประชาธิปไตยมากขึ้นและใกล้เคียงกัน ขณะที่อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์จะเป็นอีกลักษณะหนึ่งคือมีปัญหาบ้างแต่ไม่รุนแรง มีแนวโน้มเข้าสู่ยุคการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์
 
"ประชาธิปไตย ไม่ใช่เสียงข้างมากอย่างเดียว ประชาธิปไตยที่ดีต้องมีความชอบธรรม ตั้งแต่การจัดเลือกตั้งมีการทุจริตซื้อเสียงมั้ย ถ้ามีก็จะทำให้จุดเริ่มต้นของประชาธิปไตยมีปัญหา หรือถ้าไม่โกงเลย และเป็นผู้ชนะเลือกตั้งจากเสียงข้างมาก เลือกคนเพื่อสร้างความชอบธรรมในระบบ ต้องปฏิบัติตนไม่โกง เคารพสิทธิประชาชน สำคัญที่ความชอบธรรมจะต้องเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นจนจบ "นายสมชาย กล่าว
 
นายสมชาย กล่าวต่ออีกว่า ข้อขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้นระหว่างกลุ่มที่มองประชาธิปไตยคือการเลือก ตั้ง กับกลุ่มที่มองว่าประชาธิปไตยเป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพ โดยมุมมองทางการเมืองของไทยกับกัมพูชาเหมือนกัน แต่ไทยรุนแรงกว่า ทั้งนี้ ปัญหาความขัดแย้งทาง การเมืองที่รุนแรง มาจากวัฒนธรรมอุปถัมภ์ หากระบบการศึกษา ไม่ช่วยให้คนในประเทศแยกประโยชน์สาธารณะออกจากส่วนตนได้ วัฒนธรรมนี้จะรุนแรงขึ้นหากเกิดขึ้นในประเทศที่มีช่องว่างทางสังคมสูง ก่อให้เกิดวงจรอุบาทว์ ซึ่งการที่รัฐบาลเปิดประเทศมากขึ้น ต้องพยายามรักษาเสถียรภาพภายในประเทศยิ่งขึ้นเพื่อ คุมอำนาจรัฐ โดยใช้นโยบายประชานิยม เป็นเรื่องไม่ผิดในตัวเอง แต่นำไปสู่ปัญหา ขาดประสิทธิภาพในการแข่งขัน เช่น โครงการรับจำนำข้าว นำไปสู่เสถียรภาพทางการคลังของประเทศ อย่างไรก็ตาม วงจรอุบาทว์จะหมดได้ด้วยการปฏิรูประบบการศึกษา การส่งเสริมให้ภาคประชาสังคม วัฒนธรรมแข็งแกร่ง ซึ่งเป็นเรื่องไม่ง่าย ยุโรปใช้เวลา 200 กว่าปีปัญหานี้จะหมดไป รวมทั้งการปลูกฝั่งความคิดเรื่องจริยธรรม และให้เกิดจิตสำนึกในปัญหาคอรัปชั่น
 
ส่วนความขัดแย้งทาง การเมืองภายในประเทศจะจบลงอย่างไรนั้น นายสมชาย มองว่า จะจบหรือไม่จบขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย กรณีที่ไม่มีวันจบ ไม่ได้หมายความไม่มีวันจบ หากพิจารณาจากทฤษฎีเกม มีความเป็นไปได้ว่า สามารถจบได้ถ้าชนะทั้งสองฝ่ายแบบวินวิน ถ้ายังคงสู้กันต่อไปจะพังกันทั้งสองฝ่าย (เนกาทีฟ ซัม เกม) โดยจะต้องมีการชี้ให้ทั้งสองฝ่ายเห็นว่า เหนือความขัดแย้งต้อง คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศร่วมกัน หรือถ้าจบไม่ได้ มีฝ่ายหนึ่งแพ้และฝ่านหนึ่งชนะ (ซีโร ซัม เกม) ผู้ที่มีอำนาจน้อยกว่าก็จะออกมาคัดค้านผู้ที่มีอำนาจมากกว่า โดยจะผลัดรุกไล่กันแบบนี้ไม่รู้จบ สำหรับการเมืองไทยใน ขณะนี้ คงจบไม่ง่าย เนื่องจากรัฐบาลเป็นฝ่ายได้เปรียบ และเหนือกว่าตรงที่มีคนไม่อยู่ในประเทศเป็นตัวแปรสำคัญ เว้นแต่ตัวแปรนั้นจะหายไป หรือเปลี่ยนใจ แต่ตอนนี้ก็ไม่เห็นแนวโน้มเป็นอย่างนั้น
 
นายสมชาย กล่าวอีกว่า การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ในปี 2558 จะไม่มีวันถอยหลังได้และจะเป็นทางผ่านไปสู่เปิดตลาดเสรี การรวมตัวการค้า การบริการและการลงทุนอาเซียน ขณะที่ประชาคมวัฒนธรรมในประเทศอาเซียนที่คล้ายคลึงกันก็จะชัดเจน แต่ประชาคมความมั่นคง จะก้าวไปไม่ถึงไหน เนื่องจากความขัดแย้งภาย ในประเทศอาเซียนยังไรอยู่ อย่าง เกาะสแปรตลีกับเกาะพาราเซล ที่มีปัญหาเรื่องพรมแดน โดยอาจจะต้องอาศัยความร่วมมือเอเชีย - แปซิฟิกที่มีขนาดใหญ่กว่า เนื่องจากมีอินเดีย ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ช่วยไกล่เกลี่ยและคานอำนาจระหว่างกัน
 
นายทรงฤทธิ์ โพนเงิน ผู้เชี่ยวชาญลุ่มแม่น้ำโขง กล่าวว่า การชุมนุมทางการเมืองที่เกิดขึ้นในกัมพูชา ตามที่มีกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงของสมรังสีเรียกร้องให้เกิดการเลือกตั้งใหม่ แต่สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีไม่ยอม ขณะที่การเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทย ทางกลุ่มผู้ชุมนุม กปปส.ต้องการปฏิรูปประเทศก่อนการเลือกตั้ง ขณะที่นางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีมีความต้องการให้เกิดการเลือกตั้งใหม่โดยเร็วนี้ จะเห็นว่า การประท้วงของสองประเทศ เหมือนกันแต่ความต้องการที่ต่างกัน ซึ่งเหตุอะไรที่ฮุนเซนไม่ต้องการเลือกตั้งใหม่ เนื่องจากหากมีการเลือกตั้งใหม่ ฮุนเซนจะพ่ายแพ้ราบคราบยิ่งกว่าเสียบเรียบสะอีก หากวัดกันที่สัดส่วนของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในปัจจุบันจะเห็นว่ากลุ่มคนรุ่น ใหม่กำลังเข้ามาแทนที่คนรุ่นที่เป็นฐานเสียงสำคัญให้กับรัฐบาลฮุนเซน ทั้งนี้ กัมพูชามีวาระ 5 ปี สำหรับคนรุ่นใหม่มีสิทธิ์เลือกตั้งเข้ามาใหม่เกือบ 2 ล้านเสียง โดยการเลือกตั้งในกัมพูชาเมื่อปี 51 สมเด็จฮุนเซนชนะด้วยคะแนนล่าสุด 3.4 ล้านเสียง แต่การเลือกตั้งล่าสุด สมเด็จฮุนเซนชนะด้วยคะแนนเสียง 3.2 ล้านลดจากเดิม ขณะที่พรรคสมรังสีได้รับคะแนนเสียงล่าสุดเกือบ 3 ล้านจากเดิม 1.1 ล้าน นอกจากนี้ จะเห็นว่า สมรังสีมีความเคลื่อนไหวทางการเมืองในหลายพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของโรงงาน ยิ่งสมเด็จฮุนเซนคุมนโยบายค่าแรงเท่าไร ก็จะส่งผลให้กลุ่มแรงงานชาวกัมพูชาแสดงไม่พอใจและไม่ให้เสียงสนับสนุนกับฮุน เซน
นายทรงฤทธิ์ ชี้ว่า การเมืองไทยกับ กัมพูชามีความเชื่อมโยงกัน ตั้งแต่ปี 1993 เป็นต้นมาฮุนเซนเป็นรัฐบาลบริหารประเทศมาตลอด ถ้ามีการตรวจสอบทรัพย์สินจะไม่พบว่า ฮุนเซนรวย เนื่องจากกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ในกัมพูชาให้การสนับสนุนและเป็นถังเงินให้กับ ฮุนเซนอยู่ หนึ่งในนั้นเป็น บริษัท สามารถเทเลคอมมิวนิเคชั่น ขณะที่ 5 ปีให้หลังกัมพูชาเริ่มสร้างความสัมพันธ์กับจีนแดง และไม่ง้อตะวันตก โดยจีนได้เข้ามาให้ทุนสร้างเขื่อน แหล่งถลุงเหล็กขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ และเส้นทางรถไฟความเร็วสูงให้กับกัมพูชา (เชื่อมกับท่าเรือน้ำลึกทวาย) นอกจากนี้ สร้างโรงกลั่นน้ำมัน น่าแปลกใจที่ บริษัทเชฟรอนของสหรัฐฯ เข้ามาตั้งแท่นขุดเจาะในอ่าวไทยมานานแล้ว แต่ยังไม่คืบหน้าและดำเนินการได้ เนื่องจากติดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา อย่างไรก็ตาม โรงกลั่นน้ำมันของจีนก็ต้องพึ่งฐานขุดเจาะน้ำมันของเชฟรอนของสหรัฐฯ เช่นกัน จะเห็นว่า ในช่วงหลัง สหรัฐฯ จะผลักดันให้มีการเจรจาตกลงความขัดแย้งใน กัมพูชา เนื่องจากถ้าสมเด็จฮุนเซนสามารถเจรจากับสมรังสี จนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ เช่นเดียวกันสหัฐฯ มักแสดงบทบาทนำและเรียกร้องให้ประเทศไทยกลับเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตยโดย เร็ว เมื่อการเมืองกัมพูชาและการเมืองไทยเกิดความมีเสถียรภาพแล้ว ก็จะนำไปสู่เจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลให้เกิดความรุดหน้า
 
ด้านนายสกุล สื่อทรงธรรม กรรมการ ANFREL และมูลนิธิสื่อกลางเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงสถานการณ์ความขัดแย้งทาง การเมืองในประเทศของอาเซียน เริ่มต้นจากการเลือกตั้ง ซึ่งการเลือกตั้งเพียงเป็นหนึ่งในกระบวนการประชาธิปไตย ยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้สมบูรณ์ ประกอบด้วยการทำหน้าสื่ออย่างเป็นกลาง หากประชาชนขาดข้อมูลความรู้ทำให้เกิดการชักชวนได้ง่ายจะทำให้การเลือกตั้ง ไม่เกิดผลเที่ยงตรง ขณะเดียวกันสื่อมวลชนยังต้องนำเสนอนโยบายแต่ละพรรคไปยังประชาชน และสะท้อนปัญหาและความต้องการของประชาชนไปยังนักการเมือง การนำเสนอของประชาชนเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดเห็น โดยเฉพาะรู้ว่าสิ่งไหนควรนำเสนอไม่ควรนำเสนอ
 
ส่วนตัวมองว่า สื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการเลือกตั้ง ซึ่งการให้ความรู้ประชาชน การให้ความเสมอภาคและเป็นธรรมกับทุกพรรคการเมืองเป็นสิ่งสำคัญ รวมทั้งไม่กีดกั้นผู้สมัครอิสระ ส่วนตัวมองว่า การโฆษณาจนส่งผลเสียไปกว่าการไม่มีการโฆษณาหาเสียง ทำให้ประชาชนสับสนจนไม่ได้อะไร ทั้งนี้ เราจะต้องทำความเข้าใจค่อยๆ เรียนรู้ประชาธิปไตยที่เกิดใหม่ในหลายประเทศ ซึ่งปัจจุบันนี้ สื่อทรงอิทธิพล ทั้งสื่อกระแสหลัก สื่อทางเลือก โดยมองว่า จะต้องมีการจัดการสื่อเพื่อให้ข่าวสารไปถึงประชาชนมากที่สุด

22/05/2561 เฌอร่า คว้ารางวัลชนะเลิศ บูธความคิดสร้างสรรค์ ในงานสถาปนิก 61
22/05/2561 ประชุมวิชาการประจำปี 2561 การบริหารสู่การพัฒนาสุขภาวะอย่างยั่งยืน
15/09/2557 เรื่อง งานพิธีไหว้ครู
     
22/05/2561 ประธานคณะกรรมการ ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป รับรางวัลผู้ประกอบการสตรีที่มีผลงานโดดเด่นในอาเซียน ประจำปี 2561
22/05/2561 จ่าซือ (Tra' SU' Cajuput Forest) และ “อานซาง” (An Giang)
22/05/2561 “เบ๋นถั่นห์” ลมหายใจแห่งไซ่ง่อน
     
19/07/2561 อาเซียนแห่ใช้เอฟทีเอยอดส่งออก4เดือนรวม2.1หมื่นล้านดอลล์สินค้าไปจีนเพิ่มสูงสุด
27/06/2561 เคาะแผนACMECS ไทยเจ้าภาพประชุมเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานไร้รอยต่อ5ชาติ
27/06/2561 ชูริเวียร่าดึงการลงทุน
     
31/05/2561 ไทยเร่งร่วมมือเมียนมา ตั้งเป้ายกระดับจุดผ่านแดนสิงขรเป็นด่านถาวรกระชับความสัมพันธ์
20/04/2561 นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 3 ณ เมืองเสียมราฐ กัมพูชา
03/09/2557 ชี้การเมืองไทยขัดแย้งรุนแรงสุดในอาเซียน
     
 ข่าว/บทความยอดนิยม
SELECT article_list.n_id, count(news_view.id_view) AS count_view, article_list.n_topic, article_list.news_use, article_list.link_html FROM article_list INNER JOIN news_view ON (article_list.n_id = news_view.news_id) WHERE article_list.n_approve = 'Y' GROUP BY news_view.news_id, article_list.n_topic order by count_view desc limit 0,5
File './db_2_asean_news/news_view.MYD' not found (Errcode: 30)