FONTSIZE
ข้อมูลนิทรรศการต่างๆ

(จำนวนคนอ่านคน)

ห้องนิทรรศการจัดแสดง ธงชาติประเทศอาเซียน เครื่องแต่งกายประจำแต่ละชาติ และบอร์ดแสดงข้อมูลพื้นฐาน 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน
 
นิทรรศการ "ทวายศึกษา"
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหน่วยงานให้บริการด้านการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในด้านต่างๆ ประกอบกับเป็นหน่วยงานที่อยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี มีพื้นที่อยู่ในจังหวัดกาญจนบุรีและมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดทวาย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และเมื่อปีพ.ศ. 2558 ประเทศไทยประกาศเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความตระหนักและให้ความสำคัญเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน จึงได้จัดนิทรรศการ "ทวายศึกษา" ณ ชั้น 1 ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี อาคารบรรณราชนครินทร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี





ยินดีต้อนรับเข้าสู่นิทรรศการ "ทวายศึกษา"

ประวัติเมืองทวาย
เมืองทวาย ตั้งอยู่ในแคว้นตะนาวศรีทางตอนใต้ของพม่า สภาพภูมิศาสตร์เป็นเมืองการค้าที่สำคัญมาตั้งแต่โบราณ ทั้งยังเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ มีเมืองโบราณตาการะ (Takara) ที่มีอายุกว่า 1,700 ปี ในยุคเดียวกับทวารวดี มีแม่น้ำทวายที่เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่ง เขตชายฝั่งทะเลอันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทางทะเล หาดทรายบริสุทธิ์ที่ยังไม่ถูกรุกล้ำจากการท่องเที่ยว ทั้งยังอยู่เขตป่าเทือกเขาตะนาวศรีที่มีความหลากหลายทางชีวภาพและยังมีเขตที่ราบที่เป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญ เช่น ข้าว ยางพารา มะม่วงหิมพานต์ และผลไม้ต่างๆ ทำให้บรรยากาศเหมือนทางภาคตะวันออกหรือทางภาคใต้ของไทย
การเดินทาง
ทางรถ: จากกรุงเทพมหานคร ขึ้นรถตู้มากาญจนบุรี จากนั้นขึ้นรถตู้หรือรถโดยสารที่บขส. กาญจนบุรีมาด่านบ้านพุน้ำร้อน ซื้อตั๋วรถโดยสารหรือเหมารถตู้จาก Counter Service ของตรีทวายทัวร์มาทวาย ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4-5 ชั่วโมง
ทางอากาศ: นั่งเครื่องบินจากกรุงเทพมหานคร มาลงที่ สนามบินกลาดง แห่งเมืองย่างกุ้งก่อนเปลี่ยน Flight เป็นสายการบินภายในประเทศเดินทางต่อมายังเมืองทวายหรือจะขึ้นรถโดยสารที่สถานีขนส่งผู้โดยสาร อ่องมิงกาหล่า (Aung Mingalar) หรือขึ้นรถไฟที่สถานีรถไฟย่างกุ้ง ซึ่งจะผ่านเมืองต่างๆ เช่น พะโค (หงสาวดี) มะละแหม่ง มูเติง ตันบูซายัค เย และทวาย
หมายเหตุ : เส้นทางรถไฟระหว่างเมืองเยกับเมืองทวายเป็นเส้นทางเก่าและทรุดโทรมทำให้รถไฟวิ่งได้ช้ากว่าปกติ ว่ากันว่าเป็นเส้นทางรถไฟที่วิ่งช้าที่สุดในประเทศพม่า
วัฒนธรรมพื้นที่ทวาย
การแต่งกายชาวทวาย หนุ่มสาวยังแต่งกายด้วยเสื้อผ้าพื้นเมืองเป็นหลักสวมเสื้อผ้าฝ้ายสีอ่อน นุ่งโสร่ง-ผ้าถุง สำหรับกางเกงยีนส์ และกางเกงขาสั้นนั้นยังคงมีให้เห็นได้น้อยมาก สำหรับสถาปัตยกรรมพบว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกับนครรัฐของ ชาวพยู อาทิเช่น โกศอัฐิ ลูกปัด ตราประทับ ฯลฯ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลเข้ามา ทั้งนี้วัตถุทางวัฒนธรรมที่ยังมีให้เห็น เช่น เจดีย์ใหญ่กลางเมือง เนินปราสาท กำแพงเมือง 3 ชั้น สุสานโบราณ
วัฒนธรรมพื้นที่ทวาย
วัฒนธรรมชาวทวายจะมีลักษณะเหมือกับของพม่า อาทิเช่น แฟชั่นโชว์ ชุดพื้นเมืองพม่า ศิลปะร่วมสมัยต่างๆ แต่ทว่่าผู้คนในทวายนั้น ไม่ได้คิดว่าตัวเองเป็นชาวพม่า แต่เป็นคนทวาย มีภาษาถิ่น มีรากเหง้า มีวัฒนธรรม มีความเป็นมาของตนเอง สำหรับภาษาสำหรับชาวทวายนั้นใช้ภาษาทวาย หรือ ภาษาตองโย ซึ่งมีผู้พูดในพม่าอยู่ประมาณ 40,000 คน (พ.ศ. 2543) พบได้ในภาคตะวันออกตอนกลาง ตั้งแต่ตอนใต้ของรัฐฉานไปจนถึงทวาย และเขตตะนาวศรี ภาษาทวายเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาพม่า ซึ่งเรียงประโยคแบบ ประธาน - กรรม - กริยา
อาหารของชาวทวาย
ประชากรส่วนใหญ่ของทวายเป็นชาวทวาย กระเหรี่ยงและมอญ ส่วนใหญ่นักถือศาสนาพุทธ ซึ่งมีวัดต่างๆ ตั้งอยู่ในเมืองกว่าร้อยวัดให้สักการะกราบไหว้ แต่งยังมีกลุ่มชาวมุสลิมและฮินดูอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข อาหารการกินของที่นี่มีความหลากหลายผสมผสานกันไประหว่างอาหารพม่า อินเดีย จีน และไทย ซึ่งอาหารทะเลสดๆ ราคาถูกก้เป็นอีกเมนูหนึ่งที่ไม่ควรพลาด
อาหารพื้นที่ทวาย
ทวายยังมีสถาปัตยกรรมที่มีกลิ่นไอของอาณานิคมอังกฤษจะเห็นได้จากบ้านไม้ที่มีลายแกะสลักงดงาม วิถีชีวิตประจำวันของชาวเมืองนั่งจับกลุ่มจิบน้ำชายามเช้าหรือผู้หญิงทาทานาคาเดินแบกดอกไม้ไว้บนหัว เรื่องอากหารการกินของที่นี่ ไม้เน้นรสจัด ประเภทแกง และยำ มักมีรสชาตและกลิ่นของกะปิ หอมแดงและมะกรูดนำ หลายอย่างมีหน้าตาและรสชาดใกล้เคียงบ้านเรา ทั้งก๋วยเตี๋ยว ข้าวซอย ขนมจีบ ซาลาเปา ปาท่องโก๋ หากต้องการนดชาดที่เผ็ดขึ้นก็สามารถขอพริกคั่วมาได้
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองทวาย
หาดเมาะมะกัน
ชายหาดที่สวยงามและยังคงธรรมชาติแบบดั้งเดิม ทั้งยังเป็นที่นิยมของคนพม่า ที่มาพักผ่อนกันที่นี่ มาช่วงใกล้พระอาทิตย์ตกสวยมากๆ
 
เดินเล่นกลางเมือง
ชมอาคารบ้านเรือนและอาคารสำนักงาน ที่มีสถาปัตยกรรมแบบยุโรปและเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น เริ่มเดินจาก กม.ที่ 0 ของเมืองไปเรื่อยๆ ผ่านอาคารที่ว่าการเมือง หอนาฬิกา และมีสำนักงานเอสซีจีของไทยตั้งอยู่บริเวณนี้
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองทวาย
อนุสาวรีย์นายพลอูอ่องชาน
สิ่งแรกที่เจอเมือเข้าสู่เมืองทวาย คือ อนุสาวรีย์นายพลอูอ่องซาน หรือ อานุสาวรีย์กองทัพเอกราช ระหว่างทางเราจะเห็นอาคารบ้านเรือนและอาคารสำนักงาน ที่มีสถาปัตยกรรมแบบยุโรปและเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น
 
วัดพระนอน วัดพระไสยาสถ์ชเวธาลยัง ดอมะ
ซึ่งมีความยาวถึง 74 ม. สูง 21 ม. ซึ่งสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1931 มีการสร้างหลังคาคลุมองค์พระไว้ ที่นี่มีพระนอนขนาดใหญ่ ตาหวาน ขนตาสวย และปากแดงงดงามตามธรรมเนียมวัฒนธรรมของพม่า ที่นี่มีตู้เสี่ยงทายมาหยอดเหรียญรอลุ้นดูผลว่าเราไปอยู่นรกสวรรค์ หรืออยู่โลกมนุษย์
 
วัดพระเจดีย์ ชเว ด่อง จา
ซึ่งเป็นวัดเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองทวาย และเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวพม่าอีกแห่งหนึ่ง ณ วัดแห่งนี้จะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของชาวพม่าที่นิยมมาไหว้พระขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในเวลาตอนเย็น
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองทวาย
ตลาด 100 ปี
หรือตลาดเซจี ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ตั้งแต่ยุคสมัยอาณานิคมอังกฤษ มีความหลากหลายสินค้าให้เดินช็อปปิ้ง พร้อมสัมผัสวิถีชีวิตของชาวทวาย และบรรยากาศของตลาดที่ยังคงความเป็นอดีตไว้อย่างมาก
 
โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวาย
เป็นอภิมหาโปรเจกต์ความร่วมมือระหว่างไทยกับพม่า คาดการณ์กันว่าหากโครงการนี้แล้วเสร็จจะเป็นประตูเศรษฐกิจ (Gate Way) แห่งใหม่ของโลกตะวันตกและตะวันออก โครงการนี้ถือเป็นศูนย์กลางระบบโลจิสติกส์ และการค้าขนาดใหญ่ของภูมิภาค
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองทวาย
วัดเซียนตานโป่ว
หรือวัดที่อยู่บนเขาสูง ออกจากตัวเมืองไป จะมีเจดีย์สีทองอร่ามตา จากเนินเขามองเห็นวิวธรรมชาติโดยรอบงดงามมาก
 
วัดเมาะละเมียว
มีน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ มีความงดงามมากขององค์เจดีย์เช่นกัน หน้าวัดมีน้ำอ้อยสด อร่อยมาก น้ำอ้อยที่นี่ไม่หวานจัดนัก เป็นอ้อยสีน้ำตาลแดง
 
ตลาดเช้ากันนาเช่
ซึ่งเป็นตลาดสดที่คึกคักไปด้วยผู้คนมากมาย มีสินค้า เช่นอาหารทะเลสด ผัก และผลไม้พื้นเมืองจำหน่ายมากมาย สัมผัสวิถีชีวิตชาวทวายอย่างใกล้ชิดและเก็บภาพบรรยากาศเมืองทวายยามเช้า ตลาดเช้าที่ทวายมีทั้งเนื้อสัตว์ เช่น ไก่ หมู ปลา ผัก ผลไม้ ดอกไม้ ของแห้ง ฯลฯ ที่นี่เราจะได้เห็นปลาดขนาดใหญ่หลายชนิที่เราไม่รู้จักทั้ง สด แห้ง และหมัก
วิถีชีวิตพื้นที่ทวาย
ทวาย ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศพม่า มีประวัติศาสตร์ความเป็นมากว่า 4,000 ปี โดยทวาย ถือเป็นเมืองท่าและเมืองค้าขายที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 5 แสนราย สำหรับทวาย แบ่งประชากรออกได้เป็น ชาวทวาย มีอาศัยอยู่ในพื้นที่ 75% รองลงมาเป็นชาวกะเหรี่ยง และชาวมอญ ตามลำดับ ซึ่งชาวทวายส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ ส่วนชาวกะเหรี่ยงนั้นนับถือศาสนาคริสต์ แต่ถึงแม้จะต่างชาติพันธุ์ และต่างศาสนา แต่ทั้ง 3 ชาติพันธุ์ก็อาศัยอยู่ในทวายด้วยความสงบสุข ไม่เคยมีเรื่องกระทบกระทั่งจนสร้างความขัดแย้งในพื้นที่ ชาวทวายส่วนใหญ่ยึดอาชีพประมง เกษตรกรรม ทำสวน ทำนา ซึ่งอาชีพประมงของชาวทวายนั้น โดดเด่นในเรื่องการจับปลาทู ที่สามารถทำเงินจากการส่งออกได้ปีละหลายพันล้านบาทต่อปี
วิถีชีวิตพื้นที่ทวาย
ด้วยความที่ทวายยังคงเป็นเมืองที่ไม่ได้เป็นเมืองเปิด จึงทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวทวายเป็นไปแบบเรียบง่ายและไม่มีอะไรซับซ้อนหากจะให้เห็นภาพจริงๆ ก็คือการย้อนประเทศไทยกับไปเมื่อ 30 ปีที่แล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่า ทวายนั้น ล้าสมัย หรือค้านการพัฒนาบ้านทรงท้องถิ่นอายุ 80 - 100 ปี ยังคงมีให้เห็น แต่เพิ่มเติมมาด้วยอาคารพาณิชย์ อาคารสไตล์โคโลเนียล ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากยุคอาณานิคมอังกฤษ ยังมีให้เห้นอีกหลายหลัง ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เป็นที่ทำการรัฐและโรงแรมเป็นส่วนใหญ่
ไซ
เป็นเครื่องมือดักสัตว์น้ำ โดยมากดักปลาในกลุ่มปลาเล็กปลาน้อย ใช้งานในแหล่งน้ำไม่ลึก มักเป็นแหล่งน้ำไหลและเป็นการเปิดช่องระบายน้ำเข้าออกตามบิ้งนาคันนา ไซมีหลายรูปทรง ตั้งชื่อตามรูปทรงนั้น เช่น ไซปากแตร สานเป็นรูปกรวยปากไซบานออกเป็นรูปปากแตร ไซท่อ สานคล้ายท่อดักปลา หรืออาจตั้งชื่อตามวัตถุประสงค์ เช่น ไซสองหน้า มีช่อง 2 ด้าน ไซลอย ใช้วางลอยในช่วงน้ำตื้น ๆ แหวกกอข้าวหรือกอหญ้า วางแช่น้ำไว้ ไซปลากระดี่ ใช้ดักปลากระดี่ ไซกบ สานเป็นลายขัดตาสี่เหลี่ยมรูปทรงกระบอก ใช้ดักกบ ไซโป้ง สานก้นโป่งเล็กน้อย แม้ว่าจะมีรูปลักษณ์ที่ต่างกัน แต่มีลักษณะร่วมกันคือ สานเป็นทรงกระบอกและทำปากทางเข้าเป็นงาแซง (ซี่ไม้เสี้ยมปลายแปลม รูปทรงคล้ายกรวยที่บีบแบน ๆ ทำให้ปลาเข้าได้ แต่ว่ายสวนความคมของปลายไม้ออกมาไม่ได้) ไซต่างๆ มักไม่ต้องใช้เหยื่อเพราะจะดักปลาที่ต้องไหลในกระแสน้ำ เว้นแต่ไซกบที่ต้องมีเหยื่ออย่างลูกปลา ลูกปู
ฉมวก 
เป็นอุปกรณ์ลักษณะคล้ายกับหอก มีส่วนประกอบอยู่ 2 ส่วน คือส่วนที่ทำจากเหล็กแหลม 3 – 9 อัน ความยาวประมาณ 5 – 8 นิ้ว เชื่อมติดกันเป็นง่าม มีลักษณะเป็นวงกลม หรือเรียงกันเป็นแถว ด้านปลายจะมีลักษณะแหลม หรือบางอันจะมีเงี่ยงก็ได้ ส่วนปลายอีกด้านจะถูกเชื่อมรวมกัน และทำเป็นกระบอกกวง ความยาวประมาณ 3 – 5 นิ้ว สำหรับเป็นด้ามฉมวก ส่วนตัวด้ามของฉมวกอาจทำจากไม้ไผ่ความยาวตามผู้ใช้ถนัด ใช้เพื่อ จับปลา หรือใช้ในการล่าสัตว์น้ำ
สุ่ม
เป็นเครื่องมือที่ชาวบ้านออกแบบมาใช้ควบคุม ครอบ กักขังสัตว์เลี้ยงที่เป็นสัตว์ปีก ทำจากไม้ไผ่สานเป็นรูปครึ่งวงกลม มีวงกว้างอยู่ด้านล่าง ด้านบนมีช่องวงกลม ใช้สำหรับจับกักขังหรือเคลื่อนย้าย เรียกรวมทั่วไปว่า สุ่มไก่ ใช้กักขังแม่ไก่ พร้อมลูกที่ลงมาจากรังฟัก เลี้ยงแม่ไก่ให้ฟื้นตัว รอลูกไก่ให้แข็งแรง ก่อนปล่อยให้ออกหากินตามธรรมชาติต่อไป หรือใช้กักขังไก่ตัวผู้ ดูแล เลี้ยง และซ้อมอย่างใกล้ชิด ใช้เป็นไก่ตี สุ่มไก่มีจุดประสงค์เพื่อ กักขัง ควบคุมไก่ให้อยู่ในพื้นที่เฉพาะแล้วจะปล่อยออกไปตามความเหมาะสม ซึ่งมีความแตกต่างกับสุ่มปลา คือ มีเจตนามุ่งครอบปลาในน้ำ ควบคุมปลาให้อยู่ในสุ่ม แล้วใช้มือล้วงจับออกไปกักขังในเครื่องมืออื่นก่อน แล้วจะไปประกอบเป็นอาหารต่อไป สุ่มปลา เป็นเครื่องมือครอบจับปลาในน้ำตื้น โดยเฉพาะปลาใหญ่ที่ใช้มือล้วงเข้าไปควานจับปลาออกมา สุ่มปลามี 2 แบบ มีรูปแบบและหน้าที่การใช้สอยเหมือนกัน แบบแรกทำจากไม้ไผ่จักไว้ผิวเป็นเส้นประมาณ 60 เส้น สานขึ้นเป็นรูปวงกลม ใช้เป็นเส้นตั้งกระจายเป็นรัศมีโดยรอบ จากนั้นจึงดัดให้มนโค้งลงเท่ากันทุกเส้น ใช้ไม้ไผ่สานข่มหนึ่งยกหนึ่งให้มีตาห่างพอสมคว รตอนบนเป็นวงแคบ แล้วค่อยบานผายกว้างออกที่ปลายโคนเรียก สุ่มสาน คือ ใช้วิธีการสานตลอดตัวสุ่ม อีกชนิดหนึ่ง เรียก สุ่มซี่ เหลาไม้ไผ่เป็นซี่ ๆ ที่ปลายแหลมยึดติดโคนกับไม้จริงตัดเซาะเหลาเป็นเส้นวงกลมหนา ปลายซี่เรียงเท่า ๆ กัน ประมาณ 50-60 ซี่ ใช้ลวดเหล็กเส้นดัดเป็นเส้นวงกลมมีขนาดต่าง ๆ เรียงเล็กน้อย ประมาณ 5 วง ใช้วงเล็กสุดทำโครงด้านใน ด้านบนผูกมัดด้วยลวดหรือเชือกให้แน่นทำลงมาเป็นช่วง ๆ ระยะห่างกันตามความเหมาะสม ส่วนปลายล่างกว้างสุด สุ่มซี่จึงมีลักษณะเป็นเส้นไม้ไผ่ห่างกันเป็นซี่ ๆ ผูกติดกับโครงเหล็ก ภายในมีขนาดต่างกันเล็กน้อยขึ้นอยู่กับผู้ใช้ คือปากด้านล่างกว้างเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50 เซนติเมตร ช่องจับด้านบนกว้าง 15 เซนติเมตร สูงประมาณ 50 เซนติเมตร หรือใช้มือล้วงเข้าไปภายในจับปลาได้สะดวก
ตุ้ม
มีใช้กันทั่วไปสานด้วยไม้ไผ่บงหรือไผ่ซาง มี 2 ขนาด คือ ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ส่วนปากยาวแคบ ส่วนล่างอูมใหญ่ ตุ้มขนาดเล็กส่วนล่างเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 20 เซนติเมตร ส่วนปากเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 เซนติเมตร สูงประมาณ 40 เซนติเมตร ตุ้มขนาดใหญ่ส่วนล่างเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50 เซนติเมตร ส่วนปากเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12 เซนติเมตร สูง ประมาณ 80-100 เซนติเมตร
ตุ้มขนาดเล็กใช้ดักปลาไหล วางตามร่องน้ำที่น้ำขอดเกือบจะแห้ง หรือร่องน้ำที่น้ำแห้งเหลือแต่โคลนตม ใช้เหยื่อ เช่นปู เนื้อหอย หรือลูกไก่ที่ตายแล้ว ใส่ลงไปข้างใน แล้วปิดด้วยผ้าหรือเปลือกมะพร้าว เมื่อปลาไหลออกหากินได้กลิ่นเหยื่อก็จะพยายามเข้าไปกินเหยื่อ โดยลอดผ่านงาของตุ้มเข้าไป กลุ่มหนึ่งมีกี่ตัวก็จะลอดผ่านงาเข้าไปแย่งกันกินเหยื่อ แล้วก็กลับออกมาข้างนอกไม่ได้ ตุ้มขนาดใหญ่ บางแห่งเรียกตุ้มงาไหว ใช้ดักปลา โดยใส่เหยื่อ เช่นกุ้ง มันปู ไข่มด ลงไปข้างใน แล้วมีปลาตั้ง อย่างปลาช่อนขนาดเล็ก สัก 4-5 ตัว ใส่ไว้ข้างใน เมื่อจะดักปลาก็นำไปแช่ในลำเหมือง ลำห้วย หรือบ่อปลา ใช้ปลายไม้ไผ่แหลมเสียบเข้ากับหูของตุ้มปักไว้กับฝั่งเพื่อกดให้ตุ้มจมน้ำลงไปประมาณค่อนตัว เมื่อปลาว่ายผ่านไปมาเห็นเหยื่ออยู่ข้างในและเห็นปลาตัวอื่น อยู่ข้างในด้วย ก็จะแหวกงาของตุ้มเข้าไปแย่งกินเหยื่อ ในที่สุดจะออกมาข้างนอกไม่ได้ถูกขังไว้เหมือนกับปลาตั้งเหล่านั้น